Dick & Carey Model

Dick and Carey Model
รูปแบบการสอนของ ดิค แอนด์แคเรย์ (Dick and Carey Model)
          ดิค แอนด์ แคเรย์ (Dick and Carey) ได้พัฒนารูปแบบการสอนขึ้นอีกรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยวิธีการระบบเช่นเดียวกันกับรูปแบบADDIE ซึ่งเป็นรูปแบบที่ง่าย แต่ก็ได้รับการยอมรับว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้ดี รูปแบบการสอนของดิค แอนด์แคเรย์เริ่มเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี คศ. 1990 หลังจากนั้น เมื่อปี คศ. 1996 ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่โดยมีรายละเอียดมากขึ้น
รูปแบบการสอนของดิค แอนด์แคเรย์(1990) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้   
1. การประเมินและการวิเคราะห์ (Assessment & Analysis) ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
   1.1 การประเมินความต้องการ (Need Assessment)
   1.2 การวิเคราะห์ส่วนหน้า (Front-end Analysis)
2. การออกแบบ (Design)
3. การพัฒนา (Development)
4. การทดลองใช้ (Implementation)
5. การประเมินผล (Evaluation)
          รูปแบบการสอนของดิค แอนด์แคเรย์(1990) พัฒนามาจากวิธีการระบบ โดยมีส่วนคล้ายกับรูปแบบการสอน ADDIE แตกต่างกันเพียงขั้นตอนแรกเท่านั้น ซึ่งก็คือ การประเมินและการวิเคราะห์ ซึ่ง ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย ๆ ได้แก่ การประเมินความต้องการ และการวิเคราะห์ส่วนหน้า สำหรับการประเมินความต้องการ จะเป็นการพิจารณาความต้องการของผู้เรียนเป้าหมายของการ เรียนรู้ และข้อจำกัดต่าง ๆ รวมทั้งส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนการวิเคราะห์ส่วนหน้า จะเป็นการพิจารณาสถานการณ์การวิเคราะห์งานหรือภารกิจ การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ การวิเคราะห์สื่อ และส่วนอื่นๆ สำหรับ ขั้นตอนที่ 2 ถึง ขั้นตอนสุด ท้าย จะมีรายละเอียดคล้ายกับรูปแบบการสอน ADDIE
          รูปแบบการสอนของดิค แอนด์ แคเรย์ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ในปี คศ. 1996 โดยมีรายละเอียดมากขึ้น ซึ่งพบว่ารูปแบบการสอนในปี คศ.1996 ได้รับความนิยมมากกว่า ประกอบด้วย 10 ขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การแยกแยะเป้าหมายการเรียนการสอน และสิ้นสุดที่ขั้นตอนของการพัฒนาและสรุปการประเมิน ตามรายละเอียด ดังนี้
 1. แยกแยะเป้าหมายของการเรียน (Identify Instructional Goals) ขั้น ตอนแรกเป็นการแยกแยะเป้าหมายของบทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ต้องการ เป้าหมายของการเรียนในส่วนนี้จะเกิดจากการวิเคราะห์ความต้องการ (Need Analysis) ก่อน แล้วจึงกำหนดเป้าหมายของการเรียน โดยพิจารณาจากส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
   1.1 รายละเอียดของเป้าหมายของการเรียนที่มีอยู่
   1.2 ผลจากการวิเคราะห์ความต้องการ
   1.3 ข้อจำกัดหรืออุปสรรคต่าง ๆ ในการเรียน
   1.4 ผลจากการวิเคราะห์ผู้เรียนคนอื่นๆ ที่เรียนจบแล้ว
2. วิเคราะห์การเรียน (Conduct Instructional Analysis) หลังจากได้เป้าหมายของการเรียนแล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาบทเรียนและวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อตัดสินว่าความรู้และทักษะใดที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดั้ง นี้
   2.1 กำหนดสมรรถนะของผู้เรียนหลัง จากที่เรียนจบแล้ว
  
2.2 กำหนดขั้นตอนการนำเสนอบทเรียน
3. กำหนดพฤติกรรมของผู้เรียนที่จะเข้าเรียน (Identify Entry Behaviors) เป็นขั้นตอนที่จะพิจารณาว่าพฤติกรรมใดที่จำเป็น ของผู้เรียนก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
   3.1 การกำหนดความรู้พื้นฐานและทักษะที่จำเป็น สำหรับ ผู้เรียน
   3.2 คุณลักษณะที่สำคัญของผู้เรียน ในการดำเนินกิจกรรมทางการเรียนของบทเรียน
4. เขียนวัตถุประสงค์ของการกระทำ (Write Performance Objectives) ในที่นี้ก็คือการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้หรือสังเกตได้ของบทเรียนแต่ละหน่วย ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของงานหรือภารกิจหลังจากสิ้นสุดบทเรียนแล้ว โดยนำผลลัพธ์ที่ได้จาก 3ขั้นตอนแรกมาพิจารณา ซึ่งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
    4.1 งานหรือภารกิจ (Task) ที่ผู้เรียนแสดงออกในรูปของการกระทำหลังจบบทเรียนแล้ว ซึ่งสามารถวัดหรือสังเกตได้
    4.2 เงื่อนไข (Condition) ประกอบงานหรือภารกิจนั้น ๆ
    4.3 เกณฑ์ (Criterion) ของงานหรือภารกิจของผู้เรียนที่กระทำได้
5. พัฒนาเกณฑ์อ้างอิงเพื่อใช้ทดสอบ (Develop Criterion Reference Tests) เป็นการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของบทเรียนที่ผู้เรียนจะต้องทำได้หลังจากจบบทเรียนแล้ว ในที่นี้ก็คือเกณฑ์ที่ใช้วัดผลจากแบบฝึกหัดหรือ แบบทดสอบต่างๆ ที่ใช้ในบทเรียน
6. พัฒนากลยุทธ์ด้านการเรียนการสอน (Develop Instructional Strategy) เป็นการออกแบบและพัฒนารายละเอียดต่าง ๆ ของบทเรียน ให้สอดคล้องตามวัตถุป ระสงค์ที่กำหนดไว้รวมทั้งการพิจารณารูปแบบการนำเสนอบทเรียนด้วย เช่น ระบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative System) ระบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered System) หรือ ระบบผู้สอนเป็นผู้นำ(Instructor-led System) เป็นต้น ซึ่ง ผลลัพธ์ของกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนนี้จะอยู่ในรูปของบทดำเนินเรื่อง (Storyboard) ของบทเรียน ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
    6.1 การนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
    6.2 กิจกรรมการเรียนการสอน
    6.3 แบบฝึกหัดและการตรวจปรับ
    6.4 การทดสอบ
    6.5 การติดตามผลกิจกรรมการเรียนการสอน
7. พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop & Select Instructional Materials)เป็นขั้นตอนของการพัฒนาบทเรียนจากบทดำเนิน เรื่องในขั้น ตอนที่ผ่านมา รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุการเรียนที่สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน ได้แก่ สื่อการเรียนทั้งที่มีอยู่เดิมหรือสื่อที่ต้องสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้ มีดังนี้
   7.1 คู่มือการใช้บทเรียนของผู้เรียนและผู้สอน
   7.2 บทเรียนที่พัฒนาขึ้น ซึ่งอยู่ในรูปแบบต่างๆ ดัง นี้
         7.2.1 ระบบสนับสนุนการกระทำด้วยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EPSS   (ElectronicPerformance Support Systems)
         7.2.2 บทเรียนสำหรับผู้สอน ในกรณีที่เป็นระบบผู้สอนเป็นผู้นำ
         7.2.3 บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบใช้งานโดยลำพัง เช่น CAI, CBT
         7.2.4 บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบใช้งานบนเครือข่าย เช่น WBI, WBT
         7.2.5 e-Learning
8. พัฒนาและดำเนินการประเมินผลระหว่างดำเนินการ (Develop & Conduct Formative Evaluation) เป็นการประเมินผลการดำเนินการของกระบวนการออกแบบบทเรียนทั้งหมด เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงบทเรียนให้มีคุณภาพดีขึ้น ในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ดังนี้
   8.1 การประเมินผลแบบตัวต่อตัว (One-to-One Evaluation)
   8.2 การประเมินผลแบบกลุ่มย่อย (Small-Group Evaluation)
   8.3 การประเมินผลภาคสนาม (Field Evaluation)
9. พัฒนาและดำเนินการประเมินผลสรุป (Develop & Conduct Summative Evaluation) เป็นการประเมินผลสรุปเกี่ยวกับบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ การหาคุณภาพและประสิทธิภาพของบทเรียนซึ่ง จำแนกออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
   9.1 การประเมินผลระยะสั้น (Short Period Evaluation)
   9.1 การประเมินผลระยะยาว (Long Period Evaluation)
10. ปรับปรุงการเรียนการสอน (Revise Instruction) เป็นการปรับปรุงและแก้ไขบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ เนื้อหา การสื่อความหมาย การพัฒนากลยุทธ์ การทดสอบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และส่วนประกอบต่าง ๆ ขอบทเรียน โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ที่ได้


 
รูปแบบการสอนของ ดิค แอนด์แคเรย์ (Dick and Carey Model)














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น